© 2567 นิวส์ไวร์.ไทย สงวนลิขสิทธิ์
© 2567 นิวส์ไวร์.ไทย สงวนลิขสิทธิ์
ไทย นิวส์ไวร์ - Thai Newswire

ไทย นิวส์ไวร์ - Thai Newswire

พีอาร์ นิวส์ไวร์

ไทย นิวส์ไวร์ x พีอาร์ นิวส์ไวร์

SEG Solar เริ่มก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมโฟโตโวลตาอิกครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย

ชอบหน้านี้?

พีอาร์ นิวส์ไวร์ - SEG Solar เริ่มก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมโฟโตโวลตาอิกครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย

บาตัง, อินโดนีเซีย, 1 ตุลาคม 2567 /PRNewswire/ -- SEG Solar (SEG) ผู้ผลิตโมดูลโฟโตโวลตาอิกชั้นนำของสหรัฐ ได้เริ่มการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมโฟโตโวลตาอิกครบวงจรที่ Kawasan Industri Terpadu Batang จังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย โครงการนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ SEG ในการขยายธุรกิจระดับโลกและการลงทุนในอินโดนีเซีย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างกำลังการผลิตให้ได้ปีละ 5 กิกะวัตต์สำหรับแท่งซิลิคอน เวเฟอร์ เซลล์ และโมดูล ซึ่งจะทำให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมโฟโตโวลตาอิกแบบบูรณาการในแนวดิ่งที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย


SEG Solar Commences Construction on Indonesia’s Largest Integrated Photovoltaic Industrial Park

Nurul Ichwan รองรัฐมนตรีด้านการส่งเสริมการลงทุน, Ngurah Wirawan ประธานกรรมการบริหาร KITB และ Michael Eden ที่ปรึกษาทั่วไปของ SEG ได้เข้าร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์และกล่าวสุนทรพจน์สำคัญ โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นกว่า 20 คนร่วมงาน รวมถึงผู้บัญชาการทหารภูมิภาคบาตัง พันโท Ahmad Alam Budiman ตลอดจนผู้นำจาก Grand Batang City และทีมผู้บริหารหลักของ SEG ประจำอินโดนีเซีย

ระยะแรกของโครงการนี้จะเป็นการสร้างสายการผลิตเซลล์ชนิด N-type ที่ทันสมัย 10 สาย โดยมีเป้าหมายดันกำลังการผลิตรวมทั้งปีให้ได้ 5 กิกะวัตต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 SEG มีแผนที่จะร่วมมือกับซัพพลายเออร์ส่วนประกอบโฟโตโวลตาอิกรายอื่น ๆ ทั้งเวเฟอร์ แท่งโลหะ กล่องพักสายไฟ กรอบ และฟิล์ม EVA เพื่อตั้งโรงงานผลิตในอินโดนีเซีย ซึ่งจะเป็นการปูทางพัฒนาธุรกิจแบบครบวงจรตลอดห่วงโซ่คุณค่าของทั้งอุตสาหกรรมโฟโตโวลตาอิก

Michael Eden ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษาทั่วไปของ SEG Solar เน้นย้ำว่า "ในฐานะส่วนสำคัญของกลยุทธ์ระดับโลกของ SEG เรามุ่งพัฒนาโรงงานในอินโดนีเซียให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมโฟโตโวลตาอิกครบวงจรที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันสูง โดยจะปรับโครงสร้างต้นน้ำและปลายน้ำของห่วงโซ่อุตสาหกรรมเทคโนโลยี N-type ให้เหมาะสมที่สุด เซลล์แสงอาทิตย์และแผงโซลาร์ที่ผลิตในนิคมอุตสาหกรรมนี้จะช่วยสนับสนุนแผนลดการปล่อยคาร์บอนของรัฐบาลอินโดนีเซีย และจะส่งไปยังโรงงานผลิตแผงโซลาร์ของ SEG Solar ในฮิวสตัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าซัพพลายเชนจะตรวจสอบย้อนกลับได้และมีความน่าเชื่อถือ

Ngurah Wirawan ประธานกรรมการบริหารของ Kawasan Industri Terpadu Batang กล่าวว่า "ความร่วมมือระหว่าง SEG กับ KITB จะช่วยสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และทันสมัย โครงการนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมสีเขียวในอินโดนีเซียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

Nurul Ichwan รองรัฐมนตรีด้านการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงการลงทุน/BKPM แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เน้นย้ำว่า "การเริ่มต้นโรงงานของ SEG ในอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการนั้น ถือเป็นก้าวสำคัญของอินโดนีเซียในการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนและการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวด้วยการลงทุนจากต่างประเทศ การลงทุนของ SEG ในอินโดนีเซียจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และยกระดับบทบาทของอินโดนีเซียในซัพพลายเชนอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนระดับโลก คาดว่านิคมอุตสาหกรรมนี้จะสร้างงานกว่า 3,000 ตำแหน่ง ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสการจ้างงานและความมีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนท้องถิ่น"

เกี่ยวกับ SEG Solar

SEG ก่อตั้งขึ้นในปี 2559 เป็นผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ครบวงจรแนวดิ่งชั้นนำ มีสำนักงานใหญ่ในเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัทมุ่งมั่นที่จะส่งมอบโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ที่เชื่อถือได้และคุ้มค่าแก่ตลาดสาธารณูปโภค ตลาดเชิงพาณิชย์ และตลาดที่อยู่อาศัย SEG ได้จัดส่งแผงเซลล์แสงอาทิตย์มากกว่า 5 กิกะวัตต์ทั่วโลก ณ สิ้นปี 2566 และคาดว่าบริษัทจะมีกำลังการผลิตเกิน 5.5 กิกะวัตต์ภายในสิ้นปี 2567

 

 

 


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - SEG Solar เริ่มก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมโฟโตโวลตาอิกครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4518913_TH18913_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย นิวส์ไวร์

แสดงความคิดเห็น

© 2567 นิวส์ไวร์.ไทย สงวนลิขสิทธิ์
เว็บไซต์โดย อเมทิสต์ ดิจิทัล