© 2567 นิวส์ไวร์.ไทย สงวนลิขสิทธิ์
© 2567 นิวส์ไวร์.ไทย สงวนลิขสิทธิ์
ไทย นิวส์ไวร์ - Thai Newswire

ไทย นิวส์ไวร์ - Thai Newswire

พีอาร์ นิวส์ไวร์

ไทย นิวส์ไวร์ x พีอาร์ นิวส์ไวร์

โซลูชันนวัตกรรมของนอร์นิกเกิลจะช่วยหนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ชอบหน้านี้?

พีอาร์ นิวส์ไวร์ - โซลูชันนวัตกรรมของนอร์นิกเกิลจะช่วยหนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

กรุงเทพมหานคร, 26 เม.ย. 2567/พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปกป้องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยประมาณ 50% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลกมาจากภูมิภาคนี้ และสถานการณ์ได้เลวร้ายลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาขณะภาวะโลกร้อนในภูมิภาคทะลุค่าเฉลี่ยทั่วโลก

โซลูชันนวัตกรรมแพลเลเดียมเชิงที่นอร์นิกเกิล (Nornickel) กำลังพัฒนาอยู่จะรับมือความท้าทายที่สำคัญของภูมิภาค ได้แก่ การปรับปรุงการบำบัดน้ำสำหรับผู้คนกว่า 2 พันล้านคน อำนวยความสะดวกในการดำเนินโครงการพลังงานสีเขียว ลดการปล่อยก๊าซอันตราย และเพิ่มประสิทธิภาพการเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยนอร์นิกเกิลจะใช้เงิน 100 ล้านดอลลาร์ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการนำแพลเลเดียมไปใช้ภายในสิ้นปี 2573

คุณดิมิทรี อิโซตอฟ (Dmitry Izotov) หัวหน้าศูนย์แพลเลเดียมของนอริลสก์ นิกเกิล (Norilsk Nickel) ได้นำเสนอเกี่ยวกับหัวข้อนี้ที่การประชุมเต็มคณะของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร

ในปัจจุบัน น้ำส่วนใหญ่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในการผลิต การขนส่ง และการเก็บรักษา ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะผสมแพลเลเดียมผสมผสานกับเทคโนโลยีอิเล็กโทรไลซิสทำให้สามารถผลิตสารฆ่าเชื้อได้ใกล้กับแหล่งน้ำ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมได้

"แพลเลเดียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการไฮโดรเจนและพลังงานแสงอาทิตย์ ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แพลเลเดียมในภาคพลังงานไฮโดรเจนแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในทุกขั้นตอนห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่การสกัดไฮโดรเจนจากน้ำด้วยกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสไปจนถึงการขนส่ง และแม้กระทั่งในเซลล์เชื้อเพลิงเองก็ตาม ในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถใช้แพลเลเดียม ชาโคโคไนด์เพื่อสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้" คุณดิมิทรี อิโซตอฟ หัวหน้าศูนย์แพลเลเดียมของนอริลสก์ นิกเกิล กล่าว

วัตถุดิบหลักในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพในปัจจุบันคือกรดไกลโคลิกซึ่งได้มาจากฟอร์มาลดีไฮด์ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตราย ตัวเร่งปฏิกิริยาใหม่ที่ใช้แพลเลเดียมช่วยลดความจำเป็นในการใช้ฟอร์มาลดีไฮด์ที่เป็นสารก่อมะเร็งและให้ผลผลิตวัตถุดิบที่ดีขึ้น เทคโนโลยีแพลเลเดียมไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้นได้เท่านั้น แต่ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มความปลอดภัยอีกด้วย

"ในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทั่วโลก เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น โครงข่ายประสาทเทียม (neural networks) การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) มีบทบาทสำคัญในการเร่งกระบวนการต่าง ๆ โดยนอร์นิกเกิลใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่เสมอในการสร้างแบบจำลองและคาดการณ์โครงสร้างและคุณสมบัติของวัสดุ ความร่วมมือระหว่างประเทศที่แน่นแฟ้นในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งจำเป็นในทุกระดับ และมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ศูนย์เทคโนโลยีแพลเลเดียมพร้อมแล้วที่จะทำหน้าที่เป็นพื้นที่นำร่องสำหรับการทดสอบเครื่องมือดิจิทัลใหม่ ๆ" คุณดิมิทรี อิโซตอฟ กล่าว

แพลเลเดียมได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลกสำหรับบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม มีการใช้แพลเลเดียมกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อพัฒนาระบบควบคุมการปล่อยมลพิษ แพลเลเดียมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสูง ไฮโดรเจนซึมผ่านได้ และเมื่อรวมกับองค์ประกอบอื่น ๆ จะมีคุณสมบัติทางแสงที่ดี จึงทำให้แพลเลเดียมมีศักยภาพมหาศาลในการเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีสีเขียว และทำให้นำไปใช้ได้ในราคาย่อมเยาว์ขึ้น


ที่มา : ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ - โซลูชันนวัตกรรมของนอร์นิกเกิลจะช่วยหนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก https://www.prnasia.com/asia-story/archive/4397531_TH97531_10

ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้จัดทำโดย ซิชั่น พีอาร์ นิวส์ไวร์ ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านข่าวของเรา ความคิดเห็นของผู้เขียนและเนื้อหาที่แบ่งปันในหน้านี้ถือเป็นความคิดเห็นของตนเอง และอาจไม่จำเป็นต้องแสดงถึงมุมมองของ ไทย นิวส์ไวร์

แสดงความคิดเห็น

© 2567 นิวส์ไวร์.ไทย สงวนลิขสิทธิ์
เว็บไซต์โดย อเมทิสต์ ดิจิทัล